9/03/2552

ความร่วมมือและความตกลงการค้าระหว่างประเทศ เรื่อง การจัดซื้อโดยรัฐ (GPA)




วันนี้ (3 กันยายน 2552) ได้มีโอกาสเข้าร่วมสัมมนา โครงการศึกษารายละเอียดความตกลงว่าด้วยการจัดซื้อโดยรัฐ (GPA) ขององค์การการค้าโลก ที่จัดโดยกรมบัญชีกลาง ที่เซ็นทาราแกรนด์ และบอกกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กับบอส งานนี้ท่าน รมช.พฤฒิชัยฯ เป็นประธานเปิด




บรรยากาศของการสัมมนา มีการอภิปรายเกี่ยวกับเห็นด้วยหรือไม่ที่ไทยจะเข้าร่วมการเป็นภาคี GPA จากการรับฟัง ทำให้ได้รับอะไรหลายอย่างที่เป็นมุมมองที่แตกต่างจากผู้ร่วมอภิปราย 5 ท่าน เท่าที่ฟัง 3 ใน 5 บอกว่า ไทยยังไม่พร้อมที่จะร่วม GPA ด้วยเหตุผลหลายประการ ท่านหนึ่งจากการบินไทย กล่าวว่า ไทยเรายังไม่พร้อม โดยเฉพาะภาคเอกชน ยังไม่สามารถแข่งขันกับประเทศที่เป็นภาคีได้ ผู้ร่วมอภิปรายอีกท่านซึ่งเป็นตัวแทนจากผู้ประกอบการก็กล่าวในทำนองเดียวกัน

แต่ประเด็นที่เป็นที่สนใจ และอภิปรายกันมาก ก็คือ จะทำอย่างไรที่จะทำให้การทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างหมดไป?

รศ.ดร.จุรี วิจิตรวาทการ ท่านชูประเด็นนี้ขึ้นมา และประเด็นนี้ก็ถกเถียงกันมากในเวทีอภิปราย ในช่วงท้ายท่านบอกว่า อย่าสอนลูกหลานเกี่ยวกับศรีธนญขัย ควรสอนลูกหลายเกี่ยวกับสมเด็จพระนเรศวร

ผลการศึกษาของสถาบันบริการวิชาการฯ มธ. และ TDRI (ดร.สมเกียรติฯ) ระบุว่า ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากการเข้าร่วมเป็นสมาชิกความตกลง GPA ผู้ประกอบการไทยสามารถเข้าถึงตลาดจัดซื้อจ้ดจ้างภาครัฐในต่างประเทศจะมีมูลค่าน้อยมาก และไม่มีความสำคัญนัก แต่ประเทศไทยจะได้ประโยชน์ 2 ประการ คือ
1. จะเกิดการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น และทำให้รัฐบาลไทยในฐานะผู้จัดซื้อจัดจ้างได้ประโยชน์จาการประหยัดงบประมาณ 1,293-7,389 ล้านบาทต่อปี
2. เพิ่มความโปร่งใสในระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ก็ทำให้รัฐสามารถประหยัดงบประมาณ 2,917 ล้านบาทต่อปี

ผลการวิจัยยังระบุว่า การเข้าเป็นสมาชิก GPA ไม่น่าจะก่อให้เกิดผลกระทบด้านลบต่อซัพพลายเออร์ของไทยมากนัก รวมถึงไม่น่าจะก่อให้เกิดผลกระทบทางสังคมมากเช่นกัน

ในขณะที่ ดร.ชาติชาย เชษฐสุมน นักกฎหมายจาก มธ. กล่าวถึง การเตรียมการภายในประเทศ เพื่อเข้าร่วมภาคี GPA ซึ่งฟังแล้ว มีหลายอย่างที่ต้องดำเนินการ หากไทยต้องเข้าร่วม

ฟังดูแล้ว ถ้าจะเข้าร่วม GPA ประเทศไทยต้องเป็นผู้สังเกตการณ์ก่อน มีการเจรจาต่อรอง ก่อนเข้าเป็นภาคี ถ้าเกี่ยวกับกฎหมาย คงไม่ต้องพูดถึง ซึ่งต้องมีการดำเนินการตาม รธน. และออกกฎหมายรองรับ GPA ตลอดจนระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้อง

ฟังดูแล้ว คงอีกนานที่ไทยจะได้เป็นภาคี GPA ซึ่งในความคิดเห็น น่าจะต้องศึกษาเรื่องนี้ ตลอดจนทำความเข้าใจ ประชาชนต้องเข้าถึงรายละเอียดของ GPA ก็คงใช้เวลานาน

ในฐานะผู้ร่วมสัมมนา คิดว่า GPA น่าจะเป็นการเข้าร่วมของประเทศที่พัฒนาแล้วมากกว่ากำลังพัฒนาอย่างไทยเรา อยากให้รัฐพัฒนาภาคเอกชน ผู้ประกอบการให้ดีก่อน ให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศที่จะเข้ามาBid ได้ ดังนั้น หากประเทศไทยจะเข้าร่วม GPA ..... อีก 5 - 10 ปี หรือมากกว่า ก็ยังไม่สายเกินไป

"สร้างไทยให้เข้มแข็งก่อนจะแข่งกับเขา..."