11/26/2552

บริหารงานด้วยหลัก 4Q+2Q???

เกี่ยวกับหลัก 4 Q อาจารย์อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์ นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กล่าวไว้ว่า การทำงานใด ๆ ก็ตาม ทุกคนย่อมมีความต้องการให้งานที่ได้รับมอบหมายประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้” ผู้เขียนเห็นด้วยกับคำกล่าวนี้ เพราะมองว่า โดยหลักธรรมชาติแล้ว มนุษย์ทุกคนมีจิตใต้สำนึกในตัวตนเกี่ยวกับความรับผิดชอบแห่งตนอยู่ รักตัวเอง มีความต้องการแห่งความสำเร็จของชีวิต ตามที่ทฤษฏีแห่งความต้องการของมาสโรล์กล่าวไว้ ความสำเร็จ การได้รับความยกย่องชมเชย นี่คือพฤติกรรมมนุษย์ที่มี

แต่การทำงานให้ได้ดี ให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมืออาชีพ ผู้ปฏิบัติงานต้องนำเทคนิคหรือเครื่องมือที่ดีเข้ามาช่วยในการบริหารงาน
วิธีการหรือเทคนิคที่ดีจะทำให้คุณสามารถจัดการและบริหารงานต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีภายใต้ระยะเวลาที่จำกัด


หลัก 4 Q จึงเป็นเทคนิคในการบริหารงานที่น่าสนใจ แล้วอะไรคือ 4 Q เราลองมาอ่านดู

Q ที่ 1 - Management Quotient (Mgnt.Q) ความฉลาดทางการจัดการงาน
Q ที่ 2 - Intellectual Quotient (IQ) ความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา
Q ที่ 3 - Emotional Quotient (EQ) ความฉลาดทางเชาวน์อารมณ์
Q ที่ 4 - Health Quotient (HQ) ความฉลาดในด้านสุขภาพ


ความฉลาดทางการจัดการ (Management Quotient : Mgnt. Q)
ความฉลาดทางการจัดการ (Management Quotient : Mgnt. Q) คือ ความฉลาดในการบริหารและจัดการงานโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในการจัดการงานให้สำเร็จภายใต้ระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ความฉลาดทางการจัดการนั้นไม่ใช่มีเฉพาะแต่ระดับหัวหน้างานหรือระดับผู้บริหารเท่านั้น พนักงานระดับปฏิบัติการก็ควรจะมีความฉลาดในการจัดการงานหรือบริหารงานของตนเองด้วย

ความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา (Intellectual Quotient: IQ)
ความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา (Intellectual Quotient: IQ) คือ ความสามารถทางสมอง ความคิดวิเคราะห์ และความสามารถในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าความฉลาดทางเชาวน์ปัญญาไม่มีส่วนทำให้การทำงานประสบผลสำเร็จ มีผู้วิจัยพบว่า IQ มีส่วนสำคัญที่ทำให้การทำงานประสบความสำเร็จประมาณ 20% นอกนั้นจะเป็นความสามารถในด้านอื่น ๆ 80% ดังนั้น IQ จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญและมีผลต่อการทำงาน ผู้ที่มี IQ ย่อมจะรู้ในสิ่งที่ควรทำก่อนและหลัง มีการจัดระบบความคิดของตัวเอง คิดหาวิธีการในการทำงานให้ง่ายและรวดเร็วขึ้น…แล้ว IQ พัฒนาได้ไหม?…ผู้เขียนขอบอกว่า สามารถพัฒนาได้ตามอายุและประสบการณ์ในการทำงาน

ความฉลาดทางเชาวน์อารมณ์ (Emotional Quotient: EQ)
ความฉลาดทางเชาวน์อารมณ์ (Emotional Quotient: EQ) คือ ความสามารถทางการจัดการและการบริหารอารมณ์ของตัวเองเมื่อเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการดำเนินงาน…เช่น รู้จักตัวเอง ยอมรับความสามารถของตนเอง รับรู้ขีดจำกัดและจุดที่คุณสามารถจะพัฒนาได้ รวมทั้งรับรู้ความรู้สึกของตนเองว่าเป็นอย่างไรในสถานการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนความสามารถหาวิธีในการควบคุมความรู้สึกของตัวคุณเองโดยเฉพาะความรู้สึกในเชิงลบของตัวคุณ....... ยิ้มเข้าไว้แล้วจะดีเอง จงยิ้มสู้ อย่าท้อแท้และสิ้นหวังกับปัญหา "ปัญหามีไว้ให้แก้ ไม่ใช่มีไว้ให้กลุ้ม" ให้คิดเสมอว่าปัญหาทำให้เราเกิดการเรียนรู้ การเรียนรู้จากข้อผิดพลาดของตัวคุณเองจะทำให้คุณจดจำและเรียนรู้ได้เร็วที่สุด..ขอให้เผชิญหน้ากับปัญหาด้วยใจที่มีพลัง…แล้วคุณจะพบว่ายังมีหนทางอีกมากมายในการแก้ไขปัญหา "ทุกปัญหาย่อมต้องมีทางออกอย่างแน่นอน" .......... คิดทางบวกอยู่เสมอ ให้มองโลกในทางที่ดี มองทางบวกเสมอ (Positive Thinking) ไม่โทษตนเองและผู้อื่น เพียงแค่ปรับเปลี่ยนความคิดของตัวคุณเองจากด้านลบเป็นด้านบวก สิ่งนี้เองจะทำให้คุณมีสติ รู้ตัวเองอยู่เสมอ รวมทั้งรู้ตัวว่าคุณควรจะทำอย่างไรในสถานการณ์หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ .......... ยอมรับและเข้าใจผู้อื่น ยอมรับและเข้าใจความต้องการและความรู้สึกของแต่ละคนได้ ให้อภัยและไม่ถือโทษโกรธเคืองในการกระทำต่าง ๆ

ความฉลาดในด้านสุขภาพ (Health Quotient: HQ)
ความฉลาดในด้านสุขภาพ (Health Quotient : HQ) คือ ความสามารถทางการจัดการและการบริหารสุขภาพของตัวเอง…ใส่ใจในสุขภาพของตัวเอง… ความเครียดจะทำให้สุขภาพกายอ่อนแอ สุขภาพจิตย่ำแย่ และในที่สุดผลการปฏิบัติงานก็จะไม่มีประสิทธิภาพ…คุณควรดูแลและใส่ใจต่อสุขภาพของคุณสักนิด โดยการหาเวลาออกกำลังกายเสียบ้าง..... การออกกำลังกาย จะช่วยทำให้สมองทุกส่วนของคุณทำงาน ระบบความจำของคุณดีขึ้น และที่สำคัญมันจะทำให้คุณมีสมาธิในการทำงานมากขึ้น…ลองทำดูนะคะ..ไม่ลองไม่รู้

"ความฉลาดทางปัญญา การรู้จักบริหารอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น รวมทั้งความใส่ใจและดูแล สุขภาพของตัวคุณ สิ่งแหล่านี้เองจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้คุณสามารถจัดการระบบการทำงานของตัวคุณเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ"

ผู้เขียนเห็นว่า หากองค์กรหรือหน่วยงาน สร้างระบบและพัฒนาคน พนักงาน ให้มีการนำวิธีการหรือเทคนิคการบริหารด้วยหลัก 4 Q มาใช้ในการทำงาน ย่อมจะทำให้การบริหารงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอย่างแน่นอน

ท้ายนี้ ผู้เขียนขอเสนอแนะว่า น่าจะเพิ่ม Q : Quotient ให้มากกว่า 4 ตัวนี้น่าจะดี และดีมากที่สุด

ผู้เขียนขอเสนอเพิ่มเติม 2 Q คือ
Q ที่ 5 Moral Quotient (MQ) ความฉลาดทางศีลธรรม จริยธรรม
Q ที่ 6 Adversity Quotient (AQ) ความฉลาดในการแก้ไขปัญหา
สำหรับความหมาย มีอยู่แล้วในคำนั้นๆ


(อ้างอิง..อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์..)